15.11.11

:: การเดินทางคือการออกไปค้นหาบางสิ่งที่อยู่ในตัวเรา ::


   ในสังคมเดียวกันนั้น นับได้ว่าเป็นความหลากหลายเชิงระบบนิเวศวิทยาทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ย่อขนาดให้เล็กลงอีกจะเห็นอีกว่าทั้งศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีตลอดจนวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันออกไป ตามแต่การก่อร่างสร้างขึ้นมาของคนในสังคมนั้น ๆ ทั้งได้รับการสืบทอดต่อ ๆ มาจากบรรพบุรุษและได้รับอิทธิพลจากต่างวัฒนธรรม นำมาผสมกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมเดิมของตนได้อย่างลงตัว

   หากมองสภาพความเป็นจริงของสังคม ยามเมื่อเรานั้นเดินทางไปได้ไกลเท่าไหร่ เรายิ่งจะเห็นโลกได้กว้างขึ้น โดยเรานั้นต้องเดินทางออกไปสู่โลกกว้างนี้ และยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมากมาย มิใช่การซุกตัวอยู่แต่สังคมแคบ ๆ  เพียงกลุ่ม ๆ หนึ่ง แต่ควรออกไปสัมผัสผู้คนต่างถิ่น ด้วยวิญญาณใหม่ แล้วจะได้ทัศนะใหม่ อันแตกต่างจากกรอบความคิดเห็นเดิม ๆ ที่เรามีอยู่หรือเพียงกลุ่มก้อนของสิ่งที่รู้เพียงพร่ามัว ค่อย ๆ จางหายไป (แม้เพียงเล็กน้อย)เสมือนกบน้อยในกะลา(ยังมิต้องกล่าวถึงระดับโลก ต่างชาติ ต่างภาษายิ่งจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น) จึงเป็นเหตุผลประการสำคัญอย่างหนึ่ง

   จนในบางครั้ง ผู้เขียนยังรู้สึกคล้ายกับว่าความคิดเห็น มุมมอง ทัศนะที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ราวกับอยู่คนละโลก ต่างภพ ต่างดาวกันก็ไม่ปาน  เนื่องด้วยต่างพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง สื่อสารกันคลละเรื่อง (ทั้งที่พูดภาษาเดียวกัน) หรือไม่ก็เหมือนอีกฝ่ายเป็นคนบ้าไปเลยก็ได้ นี่จึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของความหลากหลาย การมองมุมสูง การเดินทาง พบเจอสิ่งแปลกใหม่ ย่อมจะกระตุ้นให้เห็นอะไรบ้งอย่างชัดเจนขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ย้อนกลับมาดูที่ตัวเรา ตั้งคำถามต่อตัวเองให้ได้ขบคิดต่อว่า...

:: เราอยู่ส่วนไหนของโลก !

:: เราเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของสังคมที่มีอยู่ทั้งหมด และยิ่งจะเล็กมากไปอีก เมื่อเราเดินทางออกไปสู่สังคมแปลกหน้าที่ไม่รู้จักใครเลย จากที่มีสังคมของตัวเองมีผู้คนรู้จักมักคุ้นมากมาย กลับไม่มีใครที่รู้จักเราเลย ช่วยให้เราหลุดกรอบความคิดเห็นแคบ ๆ ของเราได้ (ตัวตน)

:: การเดินทางไปสู่ที่ีที่ไม่คุ้นตา สภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย สภาพภูมิประเทศรอบข้างที่ไม่รู้จัก เป็นเสมือนการได้สายตาคู่ใหม่  ซึ่งนับว่าเป็นมิตรที่ดีสำหรับนักเดินทาง ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนในระหว่าง (ตั้งใจ) หลงทาง

:: ต้องมีความกล้าหาญในระดับหนึ่ง ที่จะยอมผละตัวเองออกจากชุดความคิดสำเร็จรูป (ที่มีอยู่แล้วเดิม) ซึ่งสวมใส่อยู่อย่างแน่นขนัด

:: อีกประการสำคัญคือ พูดให้น้อย ฟังให้มาก คิดให้หนัก อันหมายถึง การยอมรับซึ่งความเห็นที่แตกต่างจากตน โดยอาศัยการฟังในการรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การมีที่ข้อมูลมาก ย่อมจะเป็นประโยชน์์ต่อในกระบวนการต่อยอดประมวลผล คิดวิเคราะห์ได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น



No comments:

Post a Comment