21.2.12

:: โลกนี้คือโรงละครใหญ่ - เช็คสเปียร์ ::

 
บทความหน้านี้จะพูดถึงลักษณะอุปนิสัยประจำชาติ หรือนิสัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นของประเทศต่าง ๆ  ทั้งได้มาจากผู้อื่นที่มองเข้ามาหรืออาจจะตั้งขึ้นด้วยตัวเอง ดังประโยคของไทยที่คุ้นหูกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น "สยามเมืองยิ้ม" -  "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้" - "ยามศึกเรารบ ยามสงบเรารบกันเอง"  ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างบุคลิกขั้นมูลฐาน จัดเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะที่เด่นพิเศษอันทำให้นานาชาติแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีคำที่ใช้เรียกอีก เช่น ภาพพิมพ์,ภาพแบบเดียวกัน(Stereotype),ภาพประทับใจ(Impressions) หรือการมองภาพรวมของชนชาติใด ชนชาติหนึ่ง แต่มีแนวโน้มหนักไปในทางการมองภาพในทางนิเสธ (หรือในทางลบ) เช่น คนอังกฤษ ถูกมองว่าเป็นคนประเภท "เก็บตัว" ไม่สนิทกับคนแปลกหน้าได้ง่าย และชนชาติยิว (Jew) จะมีภาพพจน์ว่า "ตระหนี่" จนมีศัพท์ภาษาไทยว่า "ยิว" อันหมายถึง คนที่ชอบเอาประโยชน์เข้าตนเท่านั้น ซึ่งได้ปรากฏภาพพจน์เช่นว่านี้ในกรณีของตัวละครชาวยิวที่ชื่อ ไชล็อค (Shylock) ในเรื่อง "เวนิสวานิช" จากบทประพันธ์ของ เช็กส์เปียร์ (Shakespeare) 



สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติได้เปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับลักษณะนิสัยประจำชาติไทยซึ่งเป็นผลงานของดร.อุทัย ดุลยเกษมผู้เป็นที่ได้รับการยอมรับในทางวิชาการและการบริหารการศึกษาอย่างสูงของไทยท่านหนึ่ง ได้สรุปว่าลักษณะนิสัยประจำชาติของไทยเป็นดังนี้

“รักสงบ เคารพอาวุโส เชื่อโชคลางของขลัง เชื่อกฎแห่งกรรม ยอมตามผู้มีอำนาจ รักเอกราช สุกเอาเผากิน ไม่ยอมให้ใครดูหมิ่น รักถิ่นและครอบครัว อ่อนน้อมถ่อมตัว ชอบผู้นำ สำรวย ชอบบันเทิง (สนุก) เมตตากรุณา ผักซีโรยหน้า ไม่กระตือรือร้น เป็นคนใจกว้าง ช่างอดช่างทน กตัญญูกตเวที ชอบมีอภิสิทธิ์ จิตใจเอื้ออารี โอนอ่อนผ่อนตาม มีความเกรงใจ ให้อภัยเสมอ ตามใจต่างชาติ ฉลาดเลือกงาน ทำการมักแบ่งเคร่งครัดเคารพแด่พระมหากษัตริย์”

แต่ไม่ทราบว่าในสังคมไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอๆ จะเหลือข้อดี-ข้อด้อยของนิสัยประจำชาติไทยไว้อีกหรือไม่ ? 


ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการเกริ่นนำก่อนจะเข้าเรื่องจริงๆ นั่นคือเรื่องการสร้างละครล้อเลียนนิสัยประจำชาติ ซึ่งไม่เคยเห็นละครล้อเลียนประเภทนี้เลย โดยจะใช้ลักษณะอุปนิสัยเด่นประจำชาติต่าง ๆ ซึ่งมองไปในทางที่ไม่ดีนัก(เชิงนิเสธ) ตัวอย่าง เช่น..

- ชาวตะวันตกมักมองคนเอเชียและคนแอฟริกาว่าเป็นชาติด้อยพัฒนา ไม่สนใจความเจริญ
- คนเอเชียบางชาติมักมองชาวตะวันตกว่าเป็นชาติที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ทางวัตุ
- คนยุโรปเคยมองคนอมเริกันว่าเป็นชาติที่ฝึกมารยาทมาน้อย ไม่มีความรู้สึกในเรื่องศิลปะและความสวยงาม 
- คนอเมริกันมักมองว่าคนยุโรปโดยเฉพาะคนอังกฤษว่าเป็นคนหัวเก่า ไม่สนใจในความคิดและความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คนอังกฤษและคนอเมริกันมักมองคนลาติน (สเปน อิตาลี อเมริกาใต้) ว่าเป็นพวกที่เชื่อถือไม่ได้ 

จึงอยากจะเห็นละครชนิดที่ว่านี้ถูกนำมาสร้างเป็นละครสักเรื่องหนึ่ง โดยใช้อุปนิสัย ลักษณะ พฤติกรรมหรือบุคลิกเด่นของชาติต่างๆ มาประกอบเข้ากับบทบาทของตัวละครในเรื่อง อาจมีผู้ไม่เห็นด้วยเพราะอาจกระทบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หรืออาจเป็นเพราะเรื่องลักษณะนิสัยประจำชาติเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อความสัมพันธ์เช่นเดียวกับกรณีเดียวที่ไทยเคยคิดว่าตนเองเป็นพี่ลาว เขมร พม่าเป็น้องเพราะล้าหลัง ต่ำต้อย ด้อยพัฒนากว่าตนเอง(ปัจจุบันคงไม่ใช่ แต่ยังเชื่อว่าน่าจะมีคนไทยบางส่วนที่คิดเช่นนี้อยู่บ้าง) ซึ่งหากจะลองค้นหาดูละครประเภทนี้ก็พบแต่เรื่อง "พลังอักษะ เฮตาเลีย" ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับที่คิดเอาไว้


พลังอักษะ เฮตาเลีย   (ญี่ปุ่น: Hetalia: Axis Powers ヘタリア Axis Powers ?) เขียนโดย ฮิมะรุยะ ฮิเดคาสึ (ญี่ปุ่น: 日丸屋秀和 Himaruya Hidekazu) ?) โดยเขียนเป็นการ์ตูนลงในเว็บไซต์ ก่อนที่จะได้ออกเป็นหนังสือการ์ตูน และกลายเป็นแอนิเมชันในที่สุด ลักษณะพิเศษของเรื่องนี้คือการสร้างตัวละครขึ้นมาเป็นตัวแทนของประเทศต่างๆในโลก และนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุคสงครามโลกและปัจจุบันมาเล่าอย่างน่ารัก โดยล้อเลียนลักษณะของคนในชาตินั้นๆ เช่นให้อิตาลี่ชอบกินพาสต้า ให้รัสเซียไม่ชอบอากาศหนาว หรือให้อเมริกาชอบแฮมเบอเกอร์ ในเรื่องนี้การรวมประเทศเข้าด้วยกันหมายถึงการแต่งงานของตัวละคร การทำสัมพันธมิตรหมายถึงความสนิทสนม และการแยกประเทศหมายถึงการหย่าร้างของตัวละคร

ชื่อเรื่องเฮตาเลียเกิดจากการรวมสองคำเข้าด้วยกัน ได้แก่ Hetare (ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าใช้ไม่ได้) และ Italia (ชื่อของประเทศอิตาลีในภาษาอิตาลี) เมื่อนำมารวมกันแล้ว เฮตาเลียจึงมีความหมายว่า "อิตาลีผู้ไม่ได้เรื่อง" การตั้งชื่อดังกล่าวนี้เป็นการล้อเลียนถึงความอ่อนแอของอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เดิมฮิมะรุยะเขียนเรื่องเฮตาเลียลงในเว็บไซต์ส่วนตัวในลักษณะเว็บคอมมิค ต่อมาจึงได้มีการรวบรวมตีพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยสำนักพิมพ์เก็นโตฉะครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ปัจจุบันมีการตีพิมพ์รวมเล่มแล้ว 3 เล่ม ต่อมาจึงได้มีการดัดแปลงการตูนชุดนี้ในรูปแบบของดราม่าซีดีและภาพยนตร์แอนิเมชั่นโดยสตูดิโอดีน

มีจำนวนมากกว่า 40 ประเทศที่ถูกนำมาล้อเลียนเป็นตัวละครในเรื่องพลังอักษะ เฮตาเลีย[1] ซึ่งตัวละครเหล่านี้โดยปกติมักจะถูกอ้างถึงด้วยชื่อประเทศของตนเอง รายชื่อที่แสดงไว้ในหน้านี้เป็นเพียงรายชื่อของตัวละครหลักจากฝ่ายอักษะและสัมพันธมิตรเท่านั้น


ข้อมูลอ้างอิง : Wikipedia 


No comments:

Post a Comment